
สถิติที่ต้องรู้ อย่ารอให้คนที่รักกระดูกหัก
Updated: Aug 24, 2020

กระดูกคนเราจะมีการเปลี่ยนแปลง มีการสลายและการเติมมวลกระดูกตลอดเวลา อายุมากขึ้น อัตราการสลายของกระดูกจะมากขึ้น ความสามารถในการสร้างน้อยลง การสะสมแร่ธาตต่างๆน้อยลง
พออายุมากขึ้นมวลกระดูกจะค่อยๆบางโดยไม่มีอาการ ไม่รู้ตัวเลย มารู้ตัวอีกทีก็กระดูกหักซะแล้ว ทำให้คุณภาพชีวิตแย่ลงมากๆ เสียค่าใช้จ่ายและเสี่ยงกับการเสียชีวิตสูง กระดูกหักมักเจอในตำแหน่งกระดูกไขสันหลังและข้อสะโพกพอๆกัน
หลังจากอายุ70ปี จะมีความเสี่ยงกระดูกหักได้ถึง30% และจะยิ่งเพิ่มขึ้นมากๆๆหลังจากวัยนี้ โดยผู้หญิงจะทุกข์ทรมานจากกระดูกพรุนได้ถึง30%-50% และผู้ชาย15%-30% จากกระดูกหัก
ทำไมผู้ชายถึงเสี่ยงกระดูกพรุนและกระดูกหักน้อยกว่าผู้หญิง?
ปัจจัยความหนาแน่นกระดูกเกิดมาตั้งแต่วัยรุ่น จากความยาว ความหนาแน่นของกระดูกของโครงสร้างของผู้ชายจะเยอะกว่า จากอาหาร การออกกำลังกาย ฮอร์โมนเพศชาย กรรมพันธ์แต่ละครอบครัว
ผู้ชายมีโอกาสเกิดอุบัติเหตหรือมาจากสาเหตอ้อมๆและทำให้กระดูกหักได้มากกว่าผู้หญิง
ข้อมูลเพิ่มเติม
ถ้าในช่วงอายุ25ปี มีการลดน้ำหนักหายไปเกิน10% จะมีภาวะเสี่ยงต่อกระดูกพรุนมากขึ้นตอนอายุมาก
ปัจจัยที่สำคัญที่ทำให้กระดูกบางได้บ้าง
1 อายุเป็นตัวสำคัญสุดที่จะทำนายภาวะกระดูกบาง
2 ฮอร์โมนเพศ หลังหมดประจำเดือนของผู้หญิง และวัยทองของผู้ชาย นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนอื่นๆเช่น PTH Calcitonin Estrogen Progesterone Androgen Growth hormone
3 น้ำหนักตัวทั้งผู้หญิงและผู้ชาย ผอมเกินไปที่BMI<21 จะมีความเสี่ยงต่อกระดูกพรุนสูงขึ้น
4 การไม่ขยับตัว อยู่เฉยๆ ไม่มีการออกกำลังกายเสี่่ยงมากขึ้น
5 สาเหตุอื่นๆเช่น โรคเรื้อรังที่ต้องได้รับยา สเตียรอยด์ มายาวนาน , โรคลำไส้อักเสบ Crohn 's disease, Coeliac disease
6 โรคมะเร็งเม็ดเลือด เช่น myeloma
แล้วจะนำมาเล่าต่อนะคะว่า ปกติ หมอจะวินิจฉัยภาวะกระดูกพรุนยังไง และ ป้องกันได้อย่างไร
#วัยทอง#ฮอร์โมนทดแทน#มะเร็ง#ช่องคลอดแห้ง#หมดประจำเดือน#กระชับช่องคลอด#ตัดแต่งแคม#labiaplasty#vaginarejuvenation#sextherapy#hormonereplacement#HRT#bioidenticalhormone#phenomedclinic#menhealth#womenhealth#กระดูกบาง#กระดูกพรุน#กระดูกหัก