
5 การรักษาและอาหารเหล่านี้ช่วยเรื่องกระดูกพรุน
Updated: Aug 24, 2020

พออายุสัก 30 ปีขึ้นไปก็จะมีการสลายกระดูกมากกว่าการสะสมมวลกระดูก จะขอแนะนำการดูแลกระดูก5วิธีดังนี้
1 สิ่งแรกที่ทุกคนต้องทำเพื่อให้กระดูกมีมวลที่หนาแน่นคือ การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และไม่ใช่การออกกำลังกายทั่วไป แต่ที่สำคัญคือการสร้างมวลกล้ามเนื้อ เพื่อให้เป็นเกราะป้องกันกระดูกและข้อต่อที่ดี ไม่ว่าจะเป็น Resistance training, free weights หรือการใช้ยางยืดออกกำลังกาย แต่ก็ต้องทำร่วมกับการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอวันละ30 นาที เพื่อสุขภาพที่ดีโดยรวม มีการวิจัยว่าการออกกำลังกายลดการหกล้มได้ถึง25%
2 อาหารที่มีแคลเซียมสูง ได้แก่ นม โยเกิร์ต ที่ไขมันต่ำหรือปราศจากไขมัน ซีเรียล นมถั่วเหลือง เต้าหู้ ปลาเล็กปลาน้อย ที่กินได้ทั้งกระดูก ผักเขียวเช่น บร๊อคคอรี kale
อาหารที่มีวิตามินดีสูง จะช่วยให้ดึงให้แคลเซียมเข้ากระดูกได้ดี ได้แก่ ไขมันปลา ปลาแซลมอน แมคเคอเรล ทูน่า ตับ ชีส ไข่แดง
3 เลิกบุหรี่ การสูบบุหรีที่ทำให้กระดูกบางลงและเสี่ยงกระดูกหักเพิ่มขึ้น 2 เท่า
ลดการดื่มแอลกอฮอล์ให้ไม่เกิน2แก้วต่อวัน เพื่อไม่ให้มวลกระดูกเสียไป
4 วิตามินดี 800 iu ต่อวัน ทั้งการขาดแคลเซียมและวิตามินดีทำให้ ฮอร์โมนพาราไทรอยด์parathyroid PTHลดน้อยลง ทำให้กระดูกบางลง อาจจะลองออกแดดอ่อนครั้งละ30นาทีโดยไม่ทากันแดดที่ผิวหนัง 2ครั้งต่ออาทิตย์ ก็เพียงพอต่อการเพิ่มวิตามินดีแล้วแต่ต้องระวังมะเร็งผิวหนังด้วย
การขาดโปรตีนก็ทำให้การสร้างโกรทฮอร์โมน growth hormone IGF1ทำให้การสร้างกระดูกลดลง
5 ถ้าผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วและมีกระดูกพรุนการได้รับวิตามินดี และ แคลเซียมก็ไม่พอที่จะป้องกันกระดูกหักได้ ดังนั้นอาจจะต้องให้ยาเสริมเช่น ฮอร์โมนเอสโตรเจนทดแทนที่ต้องประเมินความเสี่ยงและประโยชน์ที่ได้รับยาได้แก่ การเสริมฮอร์โมนParathyroid , Calcitonin , Bisphosphonates , Strontium , Teriparatide , Raloxifen (SERM)
การรักษาหลายๆอย่างร่วมกันสามารถทำให้มวลกระดูกหนาแน่นและแข็งแรงขึ้นแน่นอนค่ะ
#วัยทอง#ฮอร์โมนทดแทน#มะเร็ง#ช่องคลอดแห้ง#หมดประจำเดือน#กระชับช่องคลอด#ตัดแต่งแคม#labiaplasty#vaginarejuvenation#sextherapy#hormonereplacement#HRT#bioidenticalhormone#phenomedclinic#menhealth#womenhealth#กระดูกบาง#กระดูกพรุน#กระดูกหัก